คำว่า เหี้ย หมายความว่า ระเกะระกะ เรี่ยราด
คำปั๋น: ของอะหยังล้ำเหลือ เหี้ยเต๋มปื้นเซาะตางเตวปอบ่าได้
(ของอะไรเยอะแยะ เรี่ยราดไปหมด หาทางเดินไม่ได้เลย)
คำแก้ว: สุมาเต๊อะ ตะกี้ข้าเจ้ายะก๋าน บ่าตันได้เก็บเตื้อ
(ขอโทษที เมื่อกี้ทำงาน ยังไม่ทันได้เก็บของ)
คำว่า จะไป ในคำเมืองหมายถึง การห้ามกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อรวมกับคำว่า ไป จึงหมายความว่าห้ามไป
ลุงศรี: ว่าจะไปแอ่วน้ำตกสักหน้อย บ่าได้ไปเมินละ รวดเอาหล่ะอ่อนไปเล่นน้ำตวย
(ว่าจะไปเที่ยวน้ำตกสักหน่อย ไม่ได้ไปนานแล้ว จะได้พาเด็กๆไปเล่นน้ำด้วย)
ป้าใจ๋: จะไปไป เปิ้นว่าน้ำแฮง
(อย่าไป เขาบอกว่าน้ำแรง)
ลุงศรี: ก๋า อั้นหล่ะอ่อนอ๊ดเล่นน้ำละก่ะ
(จริงหรอ งั้นเด็กๆอดไปเล่นน้ำละสิ)
คำว่า มีไหน หมายความว่า อยู่ที่ไหน ใช้เป็นคำถาม
คำปั๋น: ตั๋ว มีไหนละ
(เธอ อยู่ที่ไหนแล้ว)
ฟองจันทร์: มีบ้านนิ รอกำเน้อ กะลังฟั่งไป
(อยู่ที่บ้าน รอเดี๋ยวเดียว กำลังรีบไป)
คำปั๋น: ขะจั๋ยมาเวยๆเน้อ
(รีบๆมานะ)
คำว่า โขด หมายความว่า โกรธ
คำแก้ว: ตั๋ว เปิ้นถามกำเลาะ ปี้เอื้อยเป๋นอะหยัง หยังมาหน้ามุ่ย
(เธอ ถามหน่อยสิ พี่ใจเป็นอะไร ทำไมหน้าบูดหน้าบึ้ง)
คำอ้าย: น่าก่ะ โขดก้า มีไผไปอู้อะหยังหื้อก่อ
(นั่นสิ โกรธรึเปล่า มีใครไปว่าให้รึเปล่า)
คำแก้ว: ตั๋วไปถามกำเลาะ เผื่อปี้เอื้อยจะอู้หื้อฟัง
(เธอไปถามหน่อยสิ เผื่อพี่ใจจะพูดให้ฟัง)
คำว่า อิด หมายความว่า เหนื่อย
ป้าใจ๋: ตะวาไปแอ่วไหนมา ม่วนก่อ
(เมื่อวานไปเที่ยวที่ไหนมา สนุกมั้ย)
ลุงศรี: โดนหล่ะอ่อนมันจุ๊หื้อไปเตวขึ้นดอยมาหน่ะก่ะ อิดขะหนาด บ่าม่วนสักหน้อย
(โดนเด็กมันหลอกไปเดินขึ้นดอย เหนื่อยมาก ไม่สนุกสักนิด)
คำว่า จ้าง หมายความว่า เป็น ใช้ในการคำถามว่า ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหรือไม่
ป้าใจ๋: คำแก้ว ว่างก่อ มาจ้วยกั๋นยะกับข้าวนี่มา
(คำแก้ว ว่ารึเปล่า มาช่วยกันทำกับข้าวหน่อย)
คำแก้ว: ได้ก่ะ หื้อยะหยังว่ามา
(ได้สิ ให้ช่วยทำอะไรบอกได้เลย)
ป้าใจ๋: เอาผักไปไซ้หื้อกำ แล้วละก่อเอาใส่ซ้าไว้ ไซ้จ้างแม่นก่อ
(ไปเลือกผักให้หน่อย ถ้าเสร็จแล้วก็เอาใส่ในตะกร้า เลือกผักเป็นใช่มั้ย)
คำแก้ว: จ้างก่ะ มอกอี้บ่าดาย
(เป็นสิ แค่นี้เอง)
คำว่า พ่อง หมายถึง บ้าง ในภาษาเมืองมักใช้ลงท้ายคำถาม
ลุงศรี: เป๋นใดพ่อง ได้ข่าวว่าเมื่อย ดีขึ้นละก๋า
(เป็นยังไงบ้าง ได้ข่าวว่าไม่สบาย อาการดีขึ้นแล้วหรอ)
ป้าใจ๋: ก้าไปโฮงยาตะเจ๊า บ่าเดี่ยวนี้ดีขึ้นละ ตะวาเมาหัวขะหนาด
(เพิ่งไปโรงพยาบาลมาเมื่อเช้า ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว เมื่อวานมึนหัวมาก)
คำว่า จ้อง หมายถึง ร่ม
คำแก้ว: จะไปแอ่วนี่เอาจ้องมาตวยก่อ
(จะไปเที่ยวนี่ได้พกร่มมาด้วยมั้ย)
ฟองคำ: บ่าได้เอามา ยิหยังก๋า
(ไม่ได้เอามา ทำไมหรอ)
คำแก้ว: ก่อแดดมันฮ้อนหน่ะก่ะ ฟั่งไปหยิบมาเหีย
(ก็แดดมันร้อน รีบๆไปหยิบมาเลย)
คำว่า โก้น หมายถึง ล้ม
ลุงศรี : บ่าดีขี่รถเวยเน้อ ก่ะเดียวมันจะโก้นเหียก่อน
(อย่าขี่รถเร็วนะ เดี๋ยวจะล้ม)
คำแก้ว: จะขี่จ๊าจ๊าเน้อ บ่าโก้นแน่นอน
(จะขี่ช้าช้า ไม่ล้มแน่นอน)
คำว่า ย้อน หมายถึง เพราะว่า
ฟองคำ: ตั๋ว คะแนนวิชาภาษาไทยออกละหนา ตั๋วไปผ่อมาละก๋า
(เธอ คะแนนวิชาภาษาไทยออกแล้วนะ ไปดูมารึยัง)
คำปั๋น: ไปผ่อมาละ ได้กั๋นนักกุ๊คนเลย ยกเว้น เอื้อยคำ
(ไปดูมาละ ได้คะแนนเยอะทุกคนเลย ยกเว้น เอื้อยคำ)
ฟองคำ: ก่อย้อนเขาบ่มาเฮียนหน่ะก่ะ ก่อเลยบ่าฮู้เรื่อง
(ก็เพราะเขาไม่มาเรียนหน่ะสิ ก่อเลยไม่รู้เรื่อง)
คำว่า ลู่ หมายถึง แย่ง
ลุงศรี: ตะกี้ไปธุระตี้เทศบาลมา ก่อว่ายิหยังมามีก๊ะหล่ะอ่อน เป๋นว่าเทศบาลเปิ้นเอาขนมมาแจก
(เมื่อกี้ไปธุระที่เทศบาลมา ก็ว่าทำไมมีแต่เด็ก ปรากฏว่าเทศบาลเขาเอาขนมมาแจก)
คำเอื้อย: หล่ะอ่อนมันท่าจะลู่เอาขนมกั๋น
(เด็กๆท่าจะแย่งกันเอาขนม)
คำว่า ปิ้น หมายถึง กลับด้าน
คำเอื้อย: คำอ้าย ใส่เสื้อปิ้นก่อ ตะเข็บออกอย่ตางนอก
(คำอ้าย ใส่เสื้อกลับด้านรึเปล่า ตะเข็บออกมาอยู่ด้านนอก)
คำอ้าย: บ่าไจ้ มันเป๋นลายบ่าดาย
(ไม่ใช่ มันเป็นแค่ลายเฉยๆ)
คำว่า ขว้าง หมายถึง ทิ้ง, โยนทิ้ง
ฟองคำ: คำแก้ว หันกล่องสีเหลืองตี้วางบนโต๊ะก่อ
(คำแก้ว เห็นกล่องสีเหลืองที่วางบนโต๊ะมั้ย)
คำแก้ว: บ่าหันเน้อ ไผกำขว้างไปเหียละก้า
(ไม่เห็นนะ ใครเอาทิ้งไปแล้วมั้ง)
คำว่า แป๊ หมายความว่า ไหว
ป้าใจ๋: คำอ้าย ไปยกซ้าตางลุ่มขึ้นมากำเลาะ
(คำอ้าย ไปยกตะกร้าข้างล่างขึ้นมาให้หน่อย)
คำอ้าย: ซ้าใหญ่ๆแม่นก่อ
(ตะกร้าใหญ่ๆใช่ไหม)
ป้าใจ๋: แม่น ยกบ่าแป๊ก่อเอิ้นเน้อ เดียวหื้อคนไปจ้วย
(ใช่แล้ว ยกไม่ไหวก็เรียกนะ เดี๋ยวให้คนไปช่วย)
คำว่า เล่าขวัญ หมายถึง นินทา
ฟองคำ: นั้งล้อมวงไค่หัว มีอะหยังกั๋นก๋า
(นั่งจับกลุ่มหัวเราะ มีอะไรกันหรอ)
คำแก้ว: ก่อเล่าขวัญตั๋วนั่นนะ เรื่องตะวาไปตอนไปกาด
(ก็นินทาเธอนั่นแหละ เรื่องเมื่อวานตอนไปตลาด)